AI คืออะไร?

เพื่อนๆหลายคนก็คงจะสงสัยว่าเจ้าปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI นี้คืออะไรกันนะ ทำไมหันไปทางไหนก็เจอ ก็ได้ยินเค้าพูดถึงกันเยอะแยะเลยโดยเฉพาะบริษัทเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Microsoft, Google, Facebook, HUAWEI หรือ Apple ต่างก็ให้ความสนใจไม่น้อย แอดก็จะมาเอ่ยให้เข้าใจกันอย่างคร่าวๆ นั่นก็คือปัญญาประดิษฐ์ ในภาษาอังกฤษเรียกว่า Artificial Intelligence มีคำย่อว่า AI เป็นศาสตร์แขนงหนึ่งของวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ ที่มีแนวคิดในรูปที่เน้นเหตุผลเป็นหลัก มีความสามารถคล้ายมนุษย์หรือเลียนแบบพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะความสามารถในการคิดและเป็นผู้ช่วยในด้านต่างๆ อาทิเช่น ระบบนำทางรถยนต์ไร้คนขับ, ช่วยผู้อัจฉริยะในสมาร์ทโฟน

ดังนั้นจึงมีคำนิยาม AI ตามความสามารถที่มนุษย์ต้องการให้มันแบ่งได้ 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. ระบบที่คิดเหมือนมนุษย์ (Systems that think like humans)
  2. ระบบที่กระทำเหมือนมนุษย์ (Systems that act like humans)
  3. ระบบที่คิดอย่างมีเหตุผล (Systems that think rationally)
  4. ระบบที่กระทำอย่างมีเหตุผล (System that act rationally)

สรุปคร่าวๆ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) หรือ AI ก็คือ วิทยาการด้านปัญญาที่จะมาช่วยให้มนุษย์อย่างเราๆแก้ปัญหาต่างๆได้ดีขึ้น โดยสร้างหุ่นยนต์ให้สามารถทำงานได้เหมือคน, หรือจะใส่เจ้าปัญญาประดิษฐ์ลงไปในคอมพิวเตอร์ ให้คอมพิวเตอร์ช่วยจำลองการทำงานต่างๆ เลียนแบบพฤติกรรมของคน โดยเน้นตามแนวความคิดแบบสมองมนุษย์ที่มีการวางแผนขั้นตอนการเรียนรู้ การตัดสินใจ การแก้ปัญหา รวมไปถึงการเลือกแนวทางการดำเนินการในลักษณะคล้ายมนุษย์นั่นเอง

อ้างอิง, อ้างอิง2, อ้างอิง3

หมายเหตุ
  • ทางบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ในการรับผิดชอบใดๆอันเนื่องจาก ข้อผิดพลาดทางการพิมพ์ (ผิด/ตก)
  • รายละเอียดต่างๆอาจมีการเปลี่ยนแปลงโดยมิต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า
  • กรุณาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สาขาใกล้บ้านท่าน

Relatest posts

Leave Comments

Sidebar Right

PDPA Icon

We use cookies to improve the performance and experience of using our website. You can find more details at Privacy Policy and manage your privacy settings by clicking Settings

Privacy Preferences

You can choose your cookie settings by enabling/disabling cookies for each category as needed, except for necessary cookies.

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save